การค้นพบ การจำแนก และบทบาทในการระบาดของโรค ของ ยุงก้นปล่อง

โยฮันน์ วิลเฮล์ม เมเกน นักกีฏวิทยาชาวเยอรมัน พรรณนาและตั้งชื่อสกุลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1818 โดยมาจากภาษากรีกโบราณ ἀνωφελής (anōphelḗs) แปลว่า 'ไร้ประโยชน์' [1]

ทั่วโลกมีสกุลยุงก้นปล่องมากกว่า 460 สปีชีส์ โดยมากกว่า 100 สปีชีส์ที่เป็นพาหะแพร่ระบาด ของโปรโตซัวปรสิตสกุล พลาสโมเดียม สาเหตุของโรคมาลาเรียในมนุษย์ แต่มีเพียง 30–40 ชนิดที่เป็นพาหะหลักที่พบได้บ่อยที่สุด [2]
ในประเทศไทย มีรายงานพบยุงก้นปล่อง 72 สปีชีส์ เป็นพาหะหลัก 3 สปีชีส์ ได้แก่ Anopheles minimus, Anopheles dirus และ Anopheles maculatus [3]
ขณะที่ Anopheles gambiae เป็นสปีชีส์ที่รู้จักกันดีที่สุดของโลก ในฐานะพาหะของ พลาสโมเดียมสปีชีส์ที่อันตรายที่สุดคือ Plasmodium falciparum ที่แพร่ระบาดในทวีปแอฟริกา

ยุงก้นปล่องบางสปีชีส์ เป็นพาหะแพร่ระบาดปรสิต Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi สาเหตุของโรคเท้าช้าง (filariasis)
และพาหะ โรตหัวใจในสุนัข (Dirofilaria immitis)
และพาหะไวรัสก่อโรค ไข้ O'nyong'nyong ซึ่งมีนัยสัมพันธ์เนื้องอกในสมองกับมาลาเรีย [4]

แม้ยุงในสกุลอื่น (Aedes, Culex, Culiseta, Haemagogus และ Ochlerotatus) เป็นพาหะของโรคร่วมกัน แต่ไม่มีสกุลใดเป็นพาหะของมาลาเรีย